ตำแหน่งและประเภทการเจาะหู
- สี่สาวแซ่บ ซาบซ่าน
- Mar 21, 2018
- 1 min read
การเลือกตำแหน่งและประเภทการเจาะหูของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล ตำแหน่งในการเจาะก็ไม่มีรูปแบบตายตัวหรือรูปแบบที่แน่นอน แต่ที่ได้รับความนิยมมากก็จะมีดังนี้
A. Helix หรือ Rim
เป็นการเจาะในส่วนกระดูกอ่อน (cartilage) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยการเจาะในลักษณะนี้ส่วนมากจะนิยมใส่ตุ้มหูแบบแป้นแบบปกติ (stud) หรือไม่ก็จะใส่เป็นห่วงกลมๆ นับว่าเป็นการเจาะหูแบบที่ดูแลง่ายที่สุดรองจากการเจาะติ่งหูทั่วไป

B. Industrial หรือ Scaffold
Industrial เป็นชื่อที่เรียกกันในแถบอเมริกา ส่วน Scaffold จะนิยมเรียกในฝั่งอังกฤษและออสเตรเลียมากกว่า ส่วนคนไทยจะเรียกว่าการเจาะดาม หรือ ดามหู เป็นการเจาะแนวทแยงในส่วนกระดูกอ่อน (cartilage) ด้านบนแล้วใส่บาร์เบลล์ (Barbell) อันยาว ต้องเลือกที่ยาวเกินออกมาหน่อย เพราะเป็นการดามกระดูกเอาไว้ ถ้าเลือกที่ความยาวพอดีกันไป มันจะรั้งจนเจ็บ รอจนแผลหายดีค่อยเปลี่ยนให้มันพอดีขึ้น การดูแลนั้นยากเล็กน้อย เพราะมีสองแผลในคราวเดียว และยังต้องเจอกับความตึงของการถูกดามด้วย

C. Dermal punch

D. Forward helix
ต่างจากการเจาะแบบ Helix ปกติ ตรงที่ต่างหูจะอยู่ด้านหน้า ไม่ใช่ด้านข้างเท่านั้นเอง

E. Sung
โดยทั่วไปกระดูกส่วนนี้จะค่อนข้างหนาหากเทียบกับ helix ก็อาจจะเจ็บมากกว่า

F. Rook
กระดูกส่วนนี้ก็หนาพอๆกับ snug เพราะมันเป็นแนวที่เชื่อมต่อกันขึ้นไป

G. Conch หรือ Shell
เป็นจุดที่ใกล้กับ snug แต่ว่าจะเจาะอ้อมไปทางด้านหลังหู

H. Anti-Tragus
เกิดหลังจาก tragus เหมือนทำออกมาล้อกัน เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ชายมากกว่าความหนาของกระดูกส่วนนี้ก็พอๆกับ tragus

I. Tragus
อันนี้เป็นที่นิยมเหมือนกันในไทย เรียกว่าพอๆกับ industrial เลย ส่วนมากผู้หญิงจะเจาะกันเยอะ ดูแลรักษาไม่ยากเท่าไหร่

J. Lobe
เป็นการเจาะหูที่เกิดขึ้นแบบแรกของโลก เป็นแบบที่นิยมมากที่สุดด้วย คนส่วนมากจะเริ่มเจาะที่จุดนี้ก่อน รวมทั้งเป็นจุดที่นิยมระเบิดหูกันด้วย ต่างหูที่นิยมใช้กันก็จะมีทั้งแบบ stud, ring หรือแบบตะขอเกี่ยวมีตัวห้อยระย้า แล้วแต่ความชอบ

K. Transverse lobe
เป็นการเจาะที่ติ่งหูแบบขวางเจาะ บางคนก็เจาะแนวนอน บางคนก็ทะแยง แต่ barbell จะขวางไปตามเนื้อหู กินพื้นที่เนื้อด้านในเยอะกว่า ส่วนมากคนที่เจาะแบบนี้ก็จะออกแนว hardcore ซะมากกว่า

L. Daith
สำหรับการเจาะแบบนี้เพิ่งจะมาเป็นที่นิยมเมื่อไม่กี่ปี อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า forward helix มาแค่นิดเดียว ความหนาของกระดูกเลยไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ สำหรับบางคนที่เนื้อเยอะ ก็เจาะผ่านเนื้อได้ จะหลุดยากกว่า helix

credit : http://www.eardots.com/article/20/ตำแหน่งและประเภทการเจาะหู
รอสั่งซื้ออยู่นะ Click!
หรือติดต่อทางfacebookก็มีนะจ้ะ Click!
Коментари